ฟุตบอลของประเทศไทยมีลีกไหนหน้าสนใจบ้าง
ถ้าให้พูดถึงเรื่องของฟุตบอลของประเทศไทยที่ทุกคนสงสัยว่ามีอะไรบ้างนั้น ซึ่งการแข่งขันฟุตบอลของประเทศไทยมีเกิดขึ้นมาเนิ่นนานมากๆ

ถ้าให้พูดถึงเรื่องของฟุตบอลของประเทศไทยที่ทุกคนสงสัยว่ามีอะไรบ้างนั้น ซึ่งการแข่งขันฟุตบอลของประเทศไทยมีเกิดขึ้นมาเนิ่นนานมากๆ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 7 ต้องขอเท้าความถึงเรื่องราวการก่อตั้งฟุตบอลในประเทศไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ในอดีตนั้นมีการตั้งกลุ่มตัวแทนฟุตบอลทีมชาติสยาม ซึ่งเมื่อก่อนประเทศไทยถูกใช้ชื่อว่าประเทศสยาม ซึ่งเป็นการจับกลุ่มของคนไทยกลุ่มหนึ่งที่ชื่นชอบฟุตบอลและเขาได้เข้าร่วมการแข่งขันกับทีมสปอร์ตยุโรป โดยที่การแข่งขันในครั้งนั้นเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2458 โดยที่การแข่งขันกับทีมสปอร์ตยุโรปทำให้ทีมชาติสยามเอาชนะทีมสปอร์ตยุโรปได้ 2 – 1 ประตูนั่นเอง และการแข่งขันในครั้งนั้นเป็นจุดเปลี่ยนให้กับวงการกีฬาฟุตบอลในประเทศสยามเป็นอย่างมาก เพราะว่าผู้คนและประชาชนในประเทศสยามนั้นหันกลับมาสนใจการเล่นกีฬาฟุตบอลมากขึ้น จนทำให้ประบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ได้ทรงก่อตั้งสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยามขึ้นมา โดยพร้อมกับการจัดการกับกฎและกติกาในการเล่นฟุตบอล ซึ่งในการที่ได้จัดตั้งสมาคมขึ้นมาแล้วนั้นได้ ก็ได้มีการจัดการแข่งขันขึ้นมาในปีเดียวกัน โดยใช้ชื่อการแข่งขันว่า การแข่งขันฟุตบอลถ้วยใหญ่ (ถ้วยพระราชทาน ก) และการแข่งขันฟุตบอลถ้วยน้อย ( ถ้วยพระราชทาน ข ) นั่นเอง ทีมชาติสยามได้ลงแข่งขันในเกมระหว่างประเทศครั้งแรกในปี 2473 ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างประเทศสยาม และ ประเทศอินโดจีน โดยที่เป็นการเสด็จประพาสอินโดจีนของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั่นเอง ต่อมาประเทศสยามได้ทำการเปลี่ยนชื่อ จากสยาม เป็นประเทศไทย ตามคำสั่งของรัฐบาลในสมัยนั้น โดยทำให้สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศสยามได้ถูกเปลี่ยนเป็นสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย และเปลี่ยนชื่อฟุตบอลทีมชาติสยาม เป็นฟุตบอลทีมชาติไทยขึ้นมาแทนนั่นเอง
การแข่งขันโอลิมปิกและซีเกมส์

ในปีพ.ศ. 2499 พล.ต.เผชิญ นิมิบุตร ซึ่งเป็นนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้มีการหาตัวผู้เล่นหลากหลายสโมสรในการเป็นตัวแทนเข้าไปแข่งขันในการแข่งขัน โอลิมปิกฤดูร้อน ที่เมืองเบลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย โดยที่เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้เข้าแข่งขันกีฬาโอลิปิกฤดูร้อนนั่นเอง ซึ่งในการแข่งขันในครั้งนั้นเป็นการแข่งขันที่ใช้ระบบแพ้คัดออก โดยทีมชาติไทยจับฉลากพบกับทีมชาติสหราชอณาจักร โดยที่การแข่งขันในครั้งนั้นทำให้ทีมชาติไทยพ่ายแพ้ไปมากที่สุดในประวัติกาล โดยที่แพ้ไป 9 – 0 ประตูนั่นเอง ทำให้ทีมชาติไทยตกรอบไปในทันที ต่อมาในปี 2508 ทีมชาติไทยาได้เหรียญทองในการแข่งขันกีฬาแหลมทอง (ซีเกมส์ในปัจจุบัน) ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้แชมป์ของการแข่งขันซีเกมส์ และจากอดีตจนถึงปัจจุบันนั้น ไทยสามารถได้แชมป์ของการแข่งขันซีเกมส์ได้ถึง 16 สมัย และยังทำสถิติคว้าแชมป์ติดต่อกันได้ถึง 8 ครั้ง นั่นเอง
การแข่งขันเอเชี่ยนคัพ คิงส์คัพ เอเชี่ยนเกมส์ และฟุตบอลชิงแชมป์อาเซี่ยน

ในปี 2515 ประเทศไทยได้มีโอกาสเป็เจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลเอเชี่ยนคัพ 1972 ซึ่งเป็นการจัดการแข่งขันเอเชี่ยนคัพครั้งที่ 5 โดยในการแข่งขันครั้งนี้นั้นทีมชาติไทยได้อันดับ 3 โดยจุดโทษของไทย 5 – 3 กับทีมชาติกัมพูชาหลังจากที่ทีมชาติไทยเสมอ 2 – 2 ประตูกับทีมชาติกัมพูชานั่นเอง และในปี 2519 ทีมชาติไทยได้แชมป์คิงคัพส์ในสมัยแรกโดยที่เป็นแชมป์ร่วมกับประเทศมาเลเซีย โดยที่มีการจักการแข่งขันคิงส์คัพภายในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2511 โดยผลรวมของแชมป์คิงส์คัพของประเทศไทยนั้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไทยเป็นแชมป์ 11 สมัย การแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์ของทีมชาติไทยยังคงเป็นสถิติที่ยังไม่สามารถคว้าแชมป์ได้นั่นเอง แต่ความสำเร็จสูงสุดของทีมชาติไทยในการแข่งขันเอเชี่ยนเกมส์คือสามารถเข้าถึงรอบรองชนะเลิศได้ ใน พ.ศ. 2537 ทีมชาติไทยได้ร่วมก่อตั้งสหพันธ์ฟุตบอลอาเซี่ยน เอเอฟเอฟ ในปี พ.ศ.2539 โดยการคุมทีมของ ธวัชชัย สัจจกุล ได้มีผู้เล่นชื่อดังอย่าง เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง, ตะวัน ศรีปาน, ดุสิ เฉลิมแสง, นที ทองสุขแก้ว และ เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์ ที่ได้ขนานนามว่าเป็น ทีมชาติไทยชุดดรีมทีม โดยที่มีผลงานอันโดดเด่นคือการชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์อาเซี่ยน ที่ปัจจุบันเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เอเอฟเอฟ ซูซูกิคัพ และรวมจนถึงปัจจุบันได้แชมป์รวมกันถึง 5 สมัยนั่นเอง
ตัวแทนฟุตบอลทีมชาติไทย

ฟุตบอลทีมชาติไทยเป็นการแข่งขันฟุตบอลทีมชาติที่ไปแข่งขันระหว่างประเทศ โดยที่อยู่ภายใต้สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ โดยที่แบ่งออกเป็นชุดการแข่งขัน U17 ตัวแทนการแข่งขันฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 17 ปี U19 ตัวแทนการแข่งขันทีมชาติไทยอายุไม่เกิน 19 ปี U23 ตัวแทนการแข่งขันฟุตบอลทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี และทีมชาติไทยชุดใหญ่ ซึ่งแต่ละรุ่นจะมีการแข่งขันตัวแทนของแต่ละช่วงอายุและแต่ละถ้วยการแข่งขันแตกต่างกันออกไปนั่นเอง ซึ่งแล้วแต่ทางเจ้าภาพจะแข่งขันและจะส่งหนังสือเชิญทีมชาติไทยลงแข่งขันนั่นเอง
ฟุตบอลไทยสายอาชีพ

ในประเทศไทยนั้นมีการแข่งขันในอาชีพนักกีฬาฟุตบอล ซึ่งเป็นการแข่งขันสายอาชีพฟุตบอลที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในประเทศไทย โดยอยู่ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยเช่นกัน ซึ่งนักเตะที่ค้าแข้งกับอาชีพนักกีฬาฟุตบอลเหล่านี้จะถูกซื้อตัวและเซ็นสัญญาตามกฎข้อบังคับสากลของฟีฟ่านั่นเอง โดยลีกการแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 3 ลีก เพื่อชิงถ้วยพระราชทาน ก ถ้วยพระราชทาน ข และถ้วยพระราชทาน ค ตามลำดับนั่นเอง
ลีกสูงสุดในประเทศไทย ไทยลีก T1

การแข่งขันไทยลีกในปัจจุบัน เป็นการแข่งขันในลีกสูดสุดของประเทศไทยโดยที่ชื่อเดิมมีชื่อว่า ไทยพรีเมียร์ลีก แต่การเปลี่ยนแปลงในปี 2559 ที่เป็นการประชุมการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดนั้นทำให้ไทยพรีเมียร์ลีก ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ไทยลีก โดยใช้ชื่อย่อว่า T1 โดยอยู่ในการควบคุมดูแลของ บริษัท ไทยลีก จำกัด และอยู่ภายใต้สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ ซึ่งในปัจจุบันมีทีมที่อยู่บนลีกสูงสุดของประเทศไทยประจำปี 2564 16 ทีม ได้แก่ บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด, เชียงราย ยูไนเต็ด, แบงค็อกยูไนเต็ด, ชลบุรี เอฟซี, การท่าเรือ เอฟซี, เมืองทอง ยูไนเต็ด, สุมทรปราการ ซิตี้, เทโร โปลิส, ราชบุรี เอฟซี, นครราชสีมา มาสด้า เอฟซี, สุพรรณบุรี เอฟซี, หนองบัว พิชญ์, บีจีพียู, ทีพี ประจวบ, เชียงใหม่ ยูไนเต็ด, ของแก่น ยูไนเต็ด และทีมทั้งหมดนี้เป็นทีมสโมสรที่ลงแข่งขันฟุตบอลอาชีพโดยมีกฎกติกาสากลของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย โดยที่ เป็นการแข่งขันแบบ เหย้า – เยือน นับแต้มการแข่งขันจนกว่าจะเจอกันครบทุกทีม และในทีมอันดับ 1 จะได้ถ้วยพระราชทาน ก เป็นรางวัลในการแข่งขันนั่นเอง โดนที่มี 3 ทีมสุดท้ายที่อยู่ 3 อันดับสุดท้ายจะตกลงไปเล่นในลีกรองของประเทศนั่นเอง
ลีกรองในประเทศไทย ไทยลีก2 T2

การแข่งขันไทยลีก 2 หรือชื่อเดิมว่า ดิวิชั่น 2 เป็นการแข่งขันลีกรองที่เกิดขึ้นพร้อมๆกับการแข่งขันในลีกสูงสุดนั่นเอง โดยที่อยู่ในการควบคุมดูแลของ บริษัท ไทยลีก จำกัด ภายใต้การดูแลของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ ซึ่งในปีนี้นั้นสโมสรที่แข่งขันมี 18 ทีมสโมสรได้แก่ ตราด เอฟซี, แพร่ ยูไนเต็ด, สุโขทัย เอฟซี, อุดรธานี เอฟซี, ชัยนาท ฮอร์นบิล, ศุลกากร ยูไนเต็ด, เชียงใหม่ เอฟซี, ลำพูน วอริเออร์, ระนอง เอฟซี, ลำปาง เอฟซี, ระยอง เอฟซี, เกษตรศาสตร์, นครปฐม ยูไนเต็ด, ราชประชา, เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด, อยุธยา ยูไนเต็ด, ราชนาวี ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการแข่งขันในลีกรองของประเทศไทย โดยการแข่งขันนี้มีกฎกติกาในการแข่งขันระบบ เหย้า – เยือน เก็บแต้ม และ 2 ทีมที่ดีที่สุดจะมีสิทธ์ขึ้นไปเล่นบนลีกสูงสุดของประเทศ และทีมที่ 3-5 จะต้องแข่งขันเพื่อเอา 1 ทีมที่ดีที่สุดเพียง 1 ทีม ขึ้นไปเล่นไทยลีกเช่นกัน โดยที่ 3 ทีมสุดท้ายในอันดับสุดท้าย จะตกลงไปแข่งขันในไทยลีก 3 หรือลีกภูมิภาคต่อไปนั่นเอง
ลีกประจำภูมิภาค ไทยลีก 3 T3

ลีกภูมิภาคหรือไทยลีก 3 เป็นการแข่งขันฟุตบอลอาชีพสโมสรสมัครเล่น โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็นแต่ละภูมิภาค ตามระบบฟุตบอลของไทย โดยการแข่งขันไทยลีก 3 นั้น บริษัท ไทยลีก จำกัด ที่เป็นผู้ควบคุมการแข่งขันนั้นได้ทำการยุบรวมกันกับไทยลีก 4 ซึ่งทำให้มีจำนวนสโมสรมากเพิ่มขึ้นและมีการปรับโครงสร้างลีกตามพื้นที่ภูมิภาค ทั้งหมด 72 สโมสร นั่นเอง